วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557


นักเรียนไม่มั่นใจระบบการศึกษาแห่ไปเรียนกวดวิชา นักวิชาการมองเด็กไทยถูกสอนให้ท่องจำมากกว่าเรียนรู้



ปัจจุบัน มีเด็กไทยมีการแข่งขันทางการศึกษาสูง ต้องแย่งชิงความเป็นหนึ่งแย่งชิงตำแหน่งในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันที่มีชื่อ เสียง  ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจึงก่อเกิดเพื่อเพื่อเพิ่มเติมและทบทวนความรู้ให้กับ นักเรียน ซึ่งตอนนี้งอกเงยกันเป็นดอกเห็ด เกิดเป็นค่านิยมใหม่ๆ ที่เด็กไทยต้องแห่กันไปเรียนเพราะกลัวจะไม่ทันเพื่อน แต่คุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทยถึงยังอยู่แค่อันดับ 8 ของอาเซียน ตามหลังทั้งเวียดนามและกัมพูชา                                
ข้อมูลนิด้าโพลซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนใน กทม. เมื่อปี 2555 ที่ตั้งคำถามว่า "เยาวชนคิดว่าการเรียนพิเศษเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือไม่?" โดย 78.86 % ระบุว่า "จำเป็น" เนื่องจากปัจจุบันการแข่งขันทางการศึกษาสูงขึ้นจึงต้องเรียนพิเศษเพื่อพัฒนา ตนเองและการเรียนพิเศษทำให้มีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น มีเพียง 21.24% ที่ระบุว่า "ไม่จำเป็น" เนื่องจากในการเรียนปกติถ้ามีความตั้งใจเรียน หมั่นฝึกฝน และทบทวนบทเรียน ก็จะสามารถทำให้ มีผลการเรียนที่ดีได้
ด.ญ.จัก ษณาพัฒน์ สุขวุฒิพงศ์ (น้องมีน) นักเรียนที่เคยผ่านการเรียนพิเศษมาถึง 5 ที่ ตั้งแต่วัย 9 ขวบ ปัจจุบันศึกษาอยู่ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหอวัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านเรียนพิเศษจนสามารถสอบเข้าโรงเรียนหอวังได้อันดับต้นๆ โดยทุกครั้งที่จะเรียนพิเศษก็จะมีผู้ปกครองคอยช่วยเหลือและแนะนำสถานที่ เรียน โดยต่อสัปดาห์จะใช้เวลา 2 วันในการเรียนพิเศษ
“มัน ก็ช่วยในการเรียนมากขึ้นนะคะ จากที่เราเรียนในห้องแล้วไม่ค่อยเข้าใจ แต่พอเรามาเรียนพิเศษมันทำให้เรารู้เรื่องเพิ่มขึ้น แล้วเหมือนทบทวนไปในตัวด้วยค่ะ อย่างตอนสอบ คือหนูจะเป็นคนไม่ค่อยอ่านหนังสือ แต่พอมาเรียนพิเศษทำให้หนูทบทวนเรื่องที่เรียนมาแล้ว โดยไม่ต้องอ่านหนังสือมากผลก็ออกมาดีนะคะ อีกอย่างครูในห้องจะสอนเร็ว คือนักเรียนมีเยอะก็เลยดูแลไม่ทั่วถึง” ด.ญ.จักษณาพัฒน์กล่าว

เมื่อถามว่า เพื่อนๆ คนอื่นต้องเรียนพิเศษกันด้วยหรือไม่ ด.ญ.จักษณาพัฒน์ กล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วก็ต้องเรียนกันหมด                

ด้าน นายคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงสาเหตุที่มีโรงเรียนกวดวิชาเปิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน ว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ไม่ใช่แค่เรื่องของการเรียน แต่เป็นปัญหาในเรื่องของการคัดเลือกเด็กเข้าสู่ระบบด้วย การศึกษาของไทยมีการจัดลำดับในเรื่องของชื่อเสียงของสถาบันที่ต่างกันดัง นั้นเด็กและผู้ปกครองก็จะมุ่งหวังที่จะเข้าในสถาบันที่มีชื่อเสียง นำมาสู่การสร้างโรงเรียนกวดวิชา แน่นอนโรงเรียนกวดวิชาเป้าหมายสำคัญ คือการให้เด็กสอบได้ มากกว่าทวนระบบความรู้ ดังนั้นการที่เด็กเห็นความจำเป็นของการติวนั้นไม่แปลก เพราะสุดท้ายแล้ว กระบวนการศึกษาเหมือนมันมุ่งไปสู่อะไรบางอย่างมากกว่ามันจะมีเป้าหมายในแต่ ละระดับชั้นทุกวันนี้เราโฟกัสที่ปลายทางมากกว่า ไม่ได้โฟกัสระหว่างทางว่าจะได้อะไร                            
“บาง ครั้งถูกเรียนผ่านไปเพื่อให้สอบได้ ตอบให้ชัดๆ คือเราเรียนเพื่อสอบ ปัญหานี้มันซับซ้อนมาก สุดท้ายมันโยงไปถึงเรื่องระบบสังคม พยายามจะทำให้มาตรฐานของการเรียนเท่ากันแต่มันเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ที่จะ ให้ทุกสถาบันการศึกษามีการเรียนเท่ากัน ปัญหานี้มันเป็นเรื่องค่านิยมด้วยจบที่นี่จะต้องเก่งจบที่นั่นจะต้องดี แล้วก็โยงมาถึงเรื่องของวิธีคิดของการศึกษาด้วยว่าสุดท้ายแล้ว เราต้องมานั่งตั้งคำถามกันใหม่ว่าการศึกษาจะนำไปสู่อะไร" นายคมกฤชกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น