วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เกรดห่วยมาก ทำไงดี

เจาะลึกหลักสูตรอินเตอร์ในไทย

จากใจติวเตอร์

ต้องเกริ่นก่อนว่า ตอนเด็กๆ จขกท แทบจะไม่ได้เรียนพิเศษเลย

เรียนจริงจังก็วิชาเลขกับไทย-สังคมช่วงสอบเอนทรานซ์เท่านั้น

ปัจจุบัน จขกท รับสอนพิเศษภาษาจีนวันเสาร์-อาทิตย์ตามสถาบันชื่อดังในห้าง

ด้วยความที่ถูกปลูกฝังมาว่า เราต้องเรียนให้คุ้มค่ากับค่าเรียนที่จ่ายไป

จขกท เลยพยายามที่จะให้ความรู้แก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่

แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะเข้มงวดอะไรมากมาย มีแบ่งเวลาให้เล่นเกมค่ะ

เวลาเรียนก็จะพยายามให้คัดให้เขียน ไม่อย่างนั้นจะจำตัวจีนไม่ได้

ซึ่ง.. ธรรมชาติของเด็กไม่ชอบเขียนค่ะ

เด็กบางคนจึงบอกผู้ปกครองว่า ไม่ชอบคุณครูคนนี้เลย

แล้ว.. ผู้ปกครองหลายท่านเลือกที่จะเดินไปบอกแอดมินให้เปลี่ยนคุณครู แทนที่จะเดินเข้ามาปรึกษากับผู้สอนว่าเกิดอะไรขึ้น

ไม่แปลกค่ะที่แอดมินจะเปลี่ยนคุณครูให้ หากแหล่งขุมทรัพย์ของพวกเค้ากำลังจะเดินจากไป

ในฐานะติวเตอร์ อยากฝากถึงผู้ปกครองว่า

การพูดในสิ่งที่คนอื่นอยากฟัง (เช่น ลูกคุณแม่เป็นเด็กน่ารัก ตั้งใจเรียนมากเลยค่ะ บลาๆๆ)
มันง่ายกว่าการป้อนความรู้ให้เด็กหลายๆ คนมากๆ เลยค่ะ

อย่าได้เอาเม็ดเงินมาซื้อเวลาของใครก็ได้ เพื่อมาเล่นเป็นเพื่อนกับลูกของคุณเลยค่ะ

"พ่อแม่รังแกฉัน" มันมีอยู่จริง

ด้วยความปรารถนาดี

ติวเตอร์

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สุดยอด โรงเรียน

                 สมัยสอบเข้าเตรียมทหาร ตอนนั้นพี่ได้ไปเรียนกวดวิชาเหมือนกัน เพราะพี่เรียนสู้เขาไม่ได้ ในปีแรกก็สอบไม่ติดตามคาด ขนาดไปเรียนสถาบันกวดวิชาที่ยอดเยี่ยมอันดับต้น ๆ ของประเทศ ปีต่อมาได้ดรอปเรียนและไปเรียนที่หอครูวรรณ  จนพี่เองสามารถบรรลุผล  และสอบติดสี่เหล่าและจ่าอากาศอันดับต้น ๆ ของประเทศ  ด้วยเทคนิคอะไรก็แล้วแต่ แต่มีอยู่เทคนิคหนึ่งที่น้อง ๆ สามารถไปเข้าคอร์สเรียนได้กันทุกคน  และที่สำคัญสอนดีกว่าที่ไหนทุก ๆ  ที่ในโลก โรงเรียนนี้มีครูสอนอยู่คนเดียว  และมีนักเรียนคนเดียวนั้น คือ   โรงเรียนอ่านเองวิทยา ครับ
   แม้แต่หอครูวรรณหรือสถาบันกวดวิชามีชื่อ เสียงแค่ไหนของประเทศไทยก็สู้ไม่ได้    พี่เคยสอบถามนักเรียน เตรียมทหารกว่า 500 คน และนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง  ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ตนเองก็ผ่านการกวดวิชาจากโรงเรียนอ่านเองวิทยามาแล้วทั้งนั้น...
   สุดยอดของโรงเรียนกวดวิชา คือ โรงเรียนอ่านเองวิทยา
   สุดยอดของอาจารย์กวดวิชา คือ  ตัวของเราเอง
   สุด ยอดของหนังสือที่ดีที่สุดคือ   ไดอารี่ที่มาจากอาจารย์จากโรงเรียนอ่านเองวิทยาได้ผลิตขึ้นมา    ก็คือตัวเราเองได้ทำมันขึ้นมาแหละครับ
   ในการที่น้องจะสอบเข้าโรงเรียน ชั้นนำระดับประเทศได้นั้น   โรงเรียนที่พี่บอกไป คือ โรงเรียนอ่านเองวิทยา  หมายถึงการอ่านหนังสือด้วยตนเอง ได้ผลดีที่สุดแล้ว     น้องเคยสังเกตไหมเวลาน้องไปเรียนกวดวิชาที่ไหนก็แล้วแต่ อาจารย์สอนรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างแล้วแต่ละที่ แต่เชื่อไหมว่า  ถ้าน้องลองมาอ่านเอง  ทำความเข้าใจกับมัน แป็บเดียวก็เข้าใจเนื้อหาวิชานั้นอย่างถ่องแท้เลย    ในการเข้าสู่สนามสอบใดก็ตาม    ถ้าน้องมัวแต่ไปพึ่งบรรดาเกจิจากสถาบันกวดวิชาชื่อดังแต่เพียงอย่างเดียว  เตรียมผิดหวังได้เลย
   ชีทสรุปย่อของบรรดาอาจารย์สอนทั้งหลาย  ไม่มีทางสู้สรุปย่อของน้องที่ทำเองกับมือได้หรอกครับ                                     
   การไปกวดวิชาหรือไปเรียนพิเศษพี่สนับสนุนครับ ไปได้ แต่ไปให้เห็นและรู้ว่าเขาทำอะไรกัน เขาสอนอะไรกัน  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด น้องต้องพึ่งตนเอง  น้องเชื่อหรือไม่ก็ตาม แต่พี่จะบอกให้ทราบ   โรงเรียนกวดวิชานั้น เหมือนกับสถานที่จับเด็กมานั่งอ่านหนังสือรวมกัน  เมื่อน้องอยู่ในสภาวะเช่นนั้น น้องก็จะแอ็กทีฟ หรือเขาเรียกว่าสภาพแวดล้อมที่ทำให้ต้องอ่านหนังสือเหมือน คนอื่น ๆ กลายเป็นว่าเราต้องมานั่งอ่านหนังสือรวมกัน   น้องคิดดูนะ  โรงเรียนกวดวิชามีส่วนช่วยให้น้องสอบติดเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น 80 เปอร์เซ็นต์ มาจากความสามารถของน้องเอง ความเอาใจใส่ต่อการเข้าโรงเรียนอ่านเองวิทยา การทำโจทย์อย่างแสนสาหัส ทำการบ้าน   ถามว่าถ้าน้องไม่อ่านเองจะเข้าใจไหม  อีก 10 เปอร์เซ็นต์ ดวงชะตาและบารมี   พี่เคยเจอบางคนมาเรียนกวดวิชาแล้วเรียนไม่รู้เรื่องเพราะพื้นฐานไม่ดี พื้นฐานไม่ดีเกิดจากอะไร เกิดจากน้องไม่เอาใจใส่ ไม่เข้าโรงเรียนอ่านเองวิทยาในช่วงเวลาที่ผ่านมา แน่นอน ไม่มีใครช่วยท่านได้นอกจากตัวท่านเอง หลาย ๆ โรงเรียนกวดวิชาพูดเช่นนี้  เอาหัวเป็นประกัน  โรงเรียนกวดวิชา ไม่ได้ช่วยอะไรน้องมากมายหรอกนะสำหรับน้องที่พื้นฐานไม่แน่น    (ขอโทษอาจารย์ที่สอนกวดวิชาด้วย แต่เป็นเรื่องจริง   เพราะผมผ่านจุดนั้นมา)
   สรุปง่าย ๆ คือ อยากให้น้องอย่าเอาใจใส่ในการเข้ากวดวิชามากเกินไป ควรเอาใจใส่ตัวน้องเองดีกว่า  ถ้าน้องไม่ขยันอ่านหนังสือ ไม่มีทางไปถึงฝันเลย  อย่าหวังเส้นสาย  น้องปล่อยให้ไอ้พวกที่คุยกว่ามีเส้นคุยต่อไปเถิด  น้องตั้งใจอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนให้แน่น แล้วไปเรียนกวดวิชา แล้วน้องจะได้ความรู้จากการกวดวิชาอย่างมาก อาจารย์ที่สอนกวดวิชามีเทคนิคทุกคน...  ในการเรียนกวดวิชา   น้อง ๆ มักจะเชื่อ อาจารย์ที่จบสูง ๆ   และให้ความเคารพนับถือมากว่าเขาต้องสอนดี แต่น้องเคยเจอแบบปริญญาเอก 3 ใบมาสอนไหม สอนไม่รู้เรื่องเลย จบนอกมาอย่างนี้ สอนไม่รู้เรื่อง เอาเป็นว่าไฮไลต์อยู่ที่การสอนของอาจารย์ ขอให้อาจารย์สอนให้เข้าใจและรู้เรื่องเท่านั้นพอ จงศรัทธาในอาจารย์ที่สอนเราแล้วเข้าใจ อย่าศรัทธาอาจารย์ที่เก่ง    เพราะอาจารย์เค้าเก่ง แต่เขาไม่ได้ทำให้เราเก่งเหมือนเขา...จำไว้

ถ้าจะสอบติด จำเป็นไหมต้องเรียนกวดวิชาโดยตรง

เอ่ออยากให้ลองไปอ่านที่
http://www.mayahol.com/forum2/index.php?topic=219.10;wap2
อ่ะ นะ สำหรับส่วนตัวคิดว่า ถ้าตัวเองมีความรับผิดชอบ ความตั้งใจ ความขยันก็คงไม่จำเป็นหรอก แต่กวดวิชามันเหมือนจับเรามานั่งอ่านหนังสืออ่ะนะ
ต้องเทียมเกวียนเยี่ยงควายนั่นแหละ อดทน แม้ร้อน แดด ฝน หนาว :)
พยายามทำข้อสอบเก่าๆเยอะๆ ทำข้อสอบหลายๆสถาบัน เช่น สมาคมคณิต เตรียมอุดม มหิดล
ความฝันคงไม่ไกลเกินเอื้อมม 
topsza55:
เนื่องจากปีนี้ผมไม่ติดเลย ติดช่างฝีมืออย่างเดียว 4 เหล่าไม่ได้สักเหล่า
เหลือโอกาสสอบอีกปีสุดท้าย ผมคงไม่เสี่ยงดรอปก็คงจะขยันขึ้นอีก 100 เท่าแน่ๆ
แต่สิ่งที่ผมจะถามก็คือ ผมความรู้สึดเหมือนพี่เตียวเลยครับ เหมือนตอนสอบไม่ติดปีแรก เรียนมาทั้งปี
แต่ไม่เก่งสักที เรียนไม่ถูกจุด ไปเรียนของคนเก่ง สอบก็ได้กลางๆ รู้บ้างไม่รู้บ้าง
ปีนี้ผมควรจะออกไปเรียน กวดวิชาหลายๆที่ดีไหมครับ เช่น เสาร์-อาทิตย์ คณิต วิทย์ อังกฤษ
จันทร์-ศุกร์ คณิต วิทย์ ส่วนเรื่องออกกำลังกาย ผมทำอยุ่บ้านก็ได้ แล้วพอถึง 2 เดือนสุดท้ายเอาให้ผมแน่นซะเกิน ผมจะได้เรียนรุ้เรื่องรับรู้กลยุทธได้เต็มที่เลย
หรือว่าจะลงเรียนประจำดีครับ นอนกินที่นั้น แต่เรียน ม.4 อยุ่

เรียนกวดวิชาของเด็กไทยดีจริง หรือเครียดหนัก

เรียบเรียงโดย teen.mthai.com
Image

เรียนกวดวิชาของเด็กไทยดีจริง หรือเครียดหนัก 

ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาแถลงผลสำรวจความคิดเห็นต่อการเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนของนักเรียน นักศึกษาไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ศ.ศรีศักดิ์กล่าวสรุปว่าจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,116 คน นั้นในด้านข้อมูลทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 51.16 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.84 เป็นเพศชาย ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.08 และร้อยละ 33.51 มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 14 ถึง 16 ปีและ 17 ถึง 18 ปีตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบ เท่าซึ่งคิดเป็นร้อยละ 41.4
ในด้านพฤติกรรมการเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.29 ระบุว่าเคยเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนในปีการศึกษาก่อนหน้า ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างถึงประมาณสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 66.04 ระบุว่าในปีการศึกษา พ.ศ. 2557 นี้ตนเองจะเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียน ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 33.96 ระบุว่าจะไม่เรียน
สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่าตั้งใจจะเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.68 ตั้งใจจะเรียนกวดวิชาที่สถานกวดวิชาเป็นการเฉพาะรองลงมาคือให้ครูอาจารย์มา สอนที่บ้านคิดเป็นร้อยละ 22.93
ส่วนวิชาที่กลุ่มตัวอย่างตั้งใจจะเรียนในการเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนสูงสุด 5 วิชา ได้แก่
ภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 83.04
สังคมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 81.55
ภาษาอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 79.65
คณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 76.66
และเคมีคิดเป็นร้อยละ 73.68
นอก จากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตั้งใจจะเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนประมาณ 3 – 5 วันต่อสัปดาห์ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 46.68 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 30.66 ตั้งใจจะเรียน 6 – 7 วันต่อสัปดาห์ และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 43.01 ตั้งใจจะเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนทั้งวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) และวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์)
20140604-1401891652.93-9
เรียนกวดวิชาของเด็กไทยดีจริง หรือเครียดหนัก
สำหรับสาเหตุสำคัญสูงสุด 5 อันดับที่กลุ่มตัวอย่างตั้งใจจะเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนในปีการศึกษา 2557 นี้ ได้แก่
เตรียมความพร้อมเพื่อการสอบในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 82.5
ไม่เข้าใจที่ครูอาจารย์สอนในชั้นเรียน คิดเป็นร้อยละ 80.87
สิ่งที่เรียนในชั้นเรียนยังไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 78.29
เพื่อนฝูงชักชวนให้เรียนด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 76.26
และต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 73.27
ส่วนสาเหตุสำคัญที่กลุ่มตัวอย่างไม่เรียนกวดวิชานอกเวลาเรียน 5 อันดับสูงสุดได้แก่
อยากพักผ่อนหลังเวลาเรียนปกติ/วันหยุด คิดเป็นร้อยละ 82.85
ขี้เกียจเรียน คิดเป็นร้อยละ 81.53
ไม่ชอบการเรียนกวดวิชา คิดเป็นร้อยละ 77.84
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย คิดเป็นร้อยละ 75.99
และไม่มีเพื่อนเรียนด้วย คิดเป็นร้อยละ 70.45
สำหรับความคิดเห็นต่อการเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 47.94 และร้อยละ 45.88 มีความคิดเห็นว่าการเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนจะช่วยให้นักเรียนนักศึกษาทำ ข้อสอบในวิชานั้นๆ ได้คะแนนดีขึ้นได้จริงและจะช่วยทำให้นักเรียนนักศึกษามีทักษะความรู้ในวิชา นั้นๆ เพิ่มขึ้นได้จริง ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าการเรียนกวดวิชานอกเวลา เรียนทำให้นักเรียนนักศึกษามีสมาธิในการเรียนในชั้นเรียนน้อยลงซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 48.03 ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.13 เห็นด้วยว่าการเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนทำให้นักเรียนนักศึกษาให้ความสนใจ กับการทำกิจกรรมในชั้นเรียนน้อยลง นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 56.45 ไม่เห็นด้วยว่าการเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนทำให้นักเรียนนักศึกษาใช้เวลาทำ กิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น เล่นเกม เที่ยวเตร่ น้อยลง
ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างถึงครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 50.81 มีความคิดเห็นว่า
“การ เรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนจะส่งผลให้นักเรียนนักศึกษามีความเครียดมากขึ้น ส่วนกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 52.06 มีความคิดเห็นว่าการเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนจะส่งผลให้นักเรียนนักศึกษามี เวลาพักผ่อนน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการเรียนกวดวิชานอก เวลาเรียนมีความจำเป็นสำหรับนักเรียนนักศึกษาซึ่งคิดเป็นร้อยละ 47.22″
ข้อมูล ทั้งหมดนี้ ไม่ได้สรุปว่าน้องๆ ควรจะเรียนกวดวิชา หรือไม่ควรเรียนนะคะ แต่เป็นการสำรวจความคิดน้องๆ บางส่วน ดังนั้นน้องๆ แต่ละคนต้องรู้ว่าหน้าที่ของเราคืออะไร และสนใจอยากรู้ อยากศึกษา อยากเรียนอะไรเพิ่มเติม ทีนเอ็มไทยเชื่อว่า หากน้องๆ มีความตั้งใจและสนใจ รักหรือชอบกับสิ่งนั้นๆ จริง ก็จะไม่มีอุปสรรคใดมาขวางความสำเร็จทางการศึกษาของเราได้แน่นอนค่ะ

ข้อมูลจาก  matichon/ eduzones

Title SME ตีแตก ธุรกิจ Me-iQ3 สถาบันกวดวิชา

แฟชั่นจริงหรือ ?

“กวดวิชา เรียนพิเศษ” จำเป็นหรือแฟชั่น
จิตรา วงศ์บุญสิน

        เรียนพิเศษ เรียนเสริม เรียนซ่อม เรียนเร่งรัด เป็นสิ่งที่สังคมไทยมีมานาน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเด็กที่เรียนอ่อน หรือเพื่อเรียนให้ทันเพื่อน ต่อมามีการเก็บค่าเรียน กลายเป็นการเรียนแบบธุรกิจการค้า มีการจัดหลักสูตรแบ่งเป็นรายวิชา จึงเปลี่ยนการเรียกเป็น “กวดวิชา” จุดมุ่งหมายในการเรียนเริ่มเปลี่ยนไป ไม่ใช่เฉพาะเด็กที่เรียนอ่อนเท่านั้น แต่เด็กทุกคนที่เรียนกวดวิชาต้องการเรียนให้เก่งขึ้น เรียนเก่งกว่าคนอื่นในวิชา โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการสอบคัดเลือก ก็จะเลือกเรียนกวดวิชาที่ตัวเองคิดว่าขาดหรือไม่เก่งพอ   

        การกวดวิชาไม่ใช่พบแต่ในประเทศไทย แต่พบได้หลายประเทศทั้งในทวีปเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินโดนีเซีย พม่า ในทวีปอัฟริกา ยุโรปตะวันออก และอเมริกากลาง  ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระบุตรงกันว่า การเรียนกวดวิชาจะพบในกลุ่มประเทศที่คุณภาพของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไม่ทัด เทียมกันเด็กนักเรียนมีความจำเป็นในการแข่งขันเพื่อเข้าเรียนโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ แต่รับนักเรียนได้จำกัด โดยมีความหวังว่าจะมีโอกาสและอนาคตที่ดีกว่าคนอื่น   

        การเรียนกวดวิชาในประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไรไม่เคยมีคนเขียนไว้ แต่ประมาณว่ามีมาไม่น้อยกว่า 40 ปี มีหลายระดับชั้นที่มีการสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนของรัฐ และระดับมหาวิทยาลัย เช่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 4 และมหาวิทยาลัย แต่ระดับชั้นที่มีการกวดวิชาหนาแน่นที่สุดคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณกันว่ามีเด็กนักเรียนประมาณร้อยละ 30 หรือประมาณ 330,000 คน/ปี  เรียนกวดวิชาในปี พ.ศ. 2549   

        สำหรับธุรกิจเรียนกวดวิชานั้น เคยมีผู้ประเมินเรื่องค่าเรียนว่าไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท โดยมีเด็กนักเรียนเรียนเฉลี่ย 3 คอร์สต่อเทอม ค่าเรียนเฉลี่ยคอร์สละประมาณ 2,000 บาท     

        งานวิจัยของ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถามแบบสอบถามนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 2,000 คน และได้ถามแบบสอบถามผู้ปกครอง  อาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 จำนวน 1,000 คน พบว่า   

        ‘ เด็กเรียนเก่ง (เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป) เรียนกวดวิชามากกว่าเด็กเรียนอ่อน (เกรดเฉลี่ย  2.00-2.50)   
        ‘ เด็กในเมืองเรียนกวดวิชามากกว่าเด็กนอกเมือง (ร้อยละ 70 ของเด็กในเมืองเรียนกวดวิชา ส่วนร้อยละ 10-20 ของเด็กนอกเมืองที่เรียนกวดวิชา)     
        ‘ อาชีพผู้ปกครอง พบว่า รับราชการหรือค้าขายส่งบุตรหลานเรียนกวดวิชามากกว่าอาชีพเกษตรกรหรือประมง   

        ถ้านับธุรกิจเสริมนอกจากค่าเรียนกวดวิชาได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าพิมพ์คู่มือ ค่าเอกสารอื่นๆ ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มเป็นเงินปีละประมาณ 14,000 ล้านบาท 

จุดมุ่งหมายของเด็กนักเรียนที่เรียนกวดวิชา

   1.   ต้อง การให้ผลการเรียนดีขึ้น ยิ่งมีการใช้ GPA ร้อยละสูงขึ้น ยิ่งต้องกวดวิชามากขึ้น ผลการเรียนจะได้ดีขึ้น เพราะเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้า ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และค่า GPA ก็จะดีขึ้นด้วย
   2.   เชื่อว่าเรียนกวดวิชาช่วยในการสอบแข่งขันเข้า มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะวิชาหลักที่คะแนนมีความแตกต่างสูง เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ
   3.    เพื่อให้ได้เทคนิคการทำข้อสอบ ได้พบข้อสอบแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน สามารถทำข้อสอบได้ง่ายขึ้น แม่นยำขึ้น ใช้เวลาน้อยลงเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดการเสวนาโดยนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องด้านการศึกษาหลายฝ่าย เรื่อง “วิกฤตที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” สรุปว่า สาเหตุของการเรียนกวดวิชามีองค์ประกอบที่ซับซ้อน 3 ด้านด้วยกัน 

1.   ด้านวิชาการ
   1.1   การ เรียนการสอนในโรงเรียน จะเน้นเนื้อหาให้ครอบคลุมครบหลักสูตรทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ มีการแจกใบงานเก็บคะแนน และสอบ ส่วนการเรียนกวดวิชาจะเน้นเนื้อหาที่ใช้สอบระหว่างปี และสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีการสรุป การทดลองทำข้อสอบ การเฉลย และการเก็งข้อสอบเบ็ดเสร็จ
   1.2   ครู แต่ละโรงเรียนมีคุณภาพไม่เท่ากัน อัตราครูต่อเด็ก 1:40-50 คน ครูที่มีคุณภาพดีในสาขาหลักๆ ทั่วประเทศมีไม่ถึงร้อยละ 30 นอกจากนี้ครูในโรงเรียนยังต้องทำงานหนัก ทั้งงานสอน งานปรับวุฒิ งานนโยบายที่มีไม่ขาดสาย ทำให้ไม่มีเวลาที่จะเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาการ ไม่มีเวลาในการเตรียมการสอนเท่าที่ควร ขณะที่ครูโรงเรียนกวดวิชาจะมีเวลามากกว่าเพราะทุ่มเทวิชาเดียว การมีลูกศิษย์จากสถานศึกษาหลากหลายจะพบปัญหามากกว่า มีเวลาเตรียมการสอนมากกว่าโดยมีผลตอบแทนที่สูงกว่ากันมากหลายเท่า
   1.3   การ สอบเข้ามหาวิทยาลัย ออกข้อสอบโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ไม่ได้สอนเด็ก  ข้อสอบจะเน้นการแข่งขันด้านวิชาการ เนื้อหาของข้อสอบแต่ละปีจะยากขึ้นเรื่อยๆ บ่อยครั้งที่เนื้อหาข้อสอบสูงกว่าหลักสูตรที่เรียนอยู่ ทำให้นักเรียนมีความจำเป็นต้องเรียนกวดวิชา 

2.   ด้านจิตวิทยา   
        เนื่องจากคุณภาพของครู และการเรียนการสอนที่แตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน ทำให้เด็กรวมทั้งผู้ปกครองเกิดความวิตกว่าจะเสียเปรียบ จึงพยายามที่จะช่วยตัวเองและลูกหลานด้วยการเรียนกวดวิชา จากแบบสอบถามของอาจารย์ไพฑูรย์ พบว่าแม้เด็กที่เก่งอยู่แล้วหรือเด็กที่อยู่ในโรงเรียนที่มีคุณภาพระดับต้น ของประเทศไทย ก็ยังรู้สึกไม่มั่นใจถ้าไม่ได้ไปเรียนกวดวิชา 

3.   ค่านิยมของสังคม   
        ค่านิยมในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันที่มีชื่อเสียง ทำให้มีการแข่งขันในระบบการศึกษาสูง ผู้มีโอกาสมีฐานะจึงนิยมเรียนกวดวิชา เพราะเห็นว่าการเรียนกวดวิชาจะสร้างความมั่นใจให้สามารถเข้าเรียนในสถาบัน ที่มีชื่อเสียงได้   
        ธุรกิจบัณฑิตโพลเรื่อง “ค่านิยมมหาวิทยาลัย และอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย” รายงานผลการสำรวจนักเรียนจำนวน 1,376 คน พบว่า อาชีพที่อยากเรียนคือ วิศวกร แพทย์ นิเทศศาสตร์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกว่าการเรียนกวดวิชายังจำเป็นเพื่อสร้างความมั่นใจให้ เข้าสถาบันที่มีชื่อเสียงได้ 

ปัญหาและผลกระทบของการเรียนกวดวิชา
   1.   คุณภาพ ชีวิตของเด็กกับครอบครัวลดลง เพราะเด็กต้องทุ่มเวลาในการเรียนตลอดสัปดาห์ ไม่เว้นวันเสาร์อาทิตย์ เฉลี่ยวันละ 2-3 ชั่วโมง ทำให้เวลาพักผ่อนไม่พอ ไม่ได้ออกกำลังกาย สุขภาพไม่แข็งแรง มีความเครียด สมองอ่อนล้า ขาดสมาธิ เด็กบางคนที่ทนรับไม่ไหว ป่วยบ่อย และบางคนผลการเรียนเลวลง ทั้งที่ใช้เวลาเรียนมากขึ้น
   2.   สร้างพฤติกรรมเห็นแก่ตัวมากขึ้น ขาดความเห็นอกเห็นใจเอื้ออาทรจากพฤติกรรม แย่งที่นั่ง จองที่ให้เพื่อน หวงความรู้
   3.   ภาวะ ความเสี่ยงสูงขึ้น เนื่องจากการเรียนกวดวิชาเป็นช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ จะมีอันตรายต่อเด็ก โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง นอกจากนี้ เด็กบางคนอาจมั่วสุมถือโอกาสเที่ยวต่อ เพราะแหล่งที่เรียนกวดวิชามักจะมีร้านอาหาร ร้านเกมส์ สถานเริงรมย์ ตั้งอยู่ด้วย      ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุไฟไหม้ เพราะสถานที่เรียนกวดวิชาหลายแห่ง คับแคบ เป็นห้องเล็กๆ ไม่มีบันไดหนีไฟ
   4.   การ เรียนกวดวิชาเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครอบครัว ทั้งค่าเรียน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าหนังสือ ค่าถ่ายเอกสารอื่นๆ จากการวิจัยของอาจารย์ไพฑูรย์ พบว่าใช้เงินประมาณร้อยละ 10-15 ของรายได้ครอบครัว   

        ในภาพรวมของประเทศ การสูญเงินปีละกว่า 3,000 ล้านบาทเพื่อเรียนกวดวิชานับว่าไม่คุ้มเพราะ
   1.   ด้าน วิชาการ    เนื้อหาที่ได้จากการเรียนกวดวิชามักจะเหมือนเดิม  อาจมีเพิ่มเติมเล็กน้อย เด็กนักเรียนได้แต่ความมั่นใจในการทำข้อสอบและเทคนิคทำข้อสอบ ไม่ได้ทำให้สติปัญญาดีขึ้น ไม่เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ไม่เพิ่มความสามารถด้านวิเคราะห์ สังเคราะห์
   2.   ด้านสังคม    การเรียนเพิ่มวันละ 2-3 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำให้เด็กเครียด ไม่ได้ออกกำลังกาย เหนื่อยล้า คุณภาพในการเรียนรู้ลดลง และเป็นวงจรหนึ่งที่ยิ่งขยายช่องว่างความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมของคน ไทย 

สรุป   

        การเรียนกวดวิชาไม่น่าจะใช่แฟชั่น เพราะไม่เคยหายไปจากสังคมไทยมาหลายสิบปี มีแต่จะเพิ่มขึ้น การเรียนกวดวิชาน่าจะเป็นภาวะจำยอมมากกว่าจำเป็น  เพราะเหตุผลทางด้านวิชาการ จิตวิทยาและสังคม

นักเรียนไม่มั่นใจระบบการศึกษาแห่ไปเรียนกวดวิชา นักวิชาการมองเด็กไทยถูกสอนให้ท่องจำมากกว่าเรียนรู้



ปัจจุบัน มีเด็กไทยมีการแข่งขันทางการศึกษาสูง ต้องแย่งชิงความเป็นหนึ่งแย่งชิงตำแหน่งในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันที่มีชื่อ เสียง  ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจึงก่อเกิดเพื่อเพื่อเพิ่มเติมและทบทวนความรู้ให้กับ นักเรียน ซึ่งตอนนี้งอกเงยกันเป็นดอกเห็ด เกิดเป็นค่านิยมใหม่ๆ ที่เด็กไทยต้องแห่กันไปเรียนเพราะกลัวจะไม่ทันเพื่อน แต่คุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทยถึงยังอยู่แค่อันดับ 8 ของอาเซียน ตามหลังทั้งเวียดนามและกัมพูชา                                
ข้อมูลนิด้าโพลซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนใน กทม. เมื่อปี 2555 ที่ตั้งคำถามว่า "เยาวชนคิดว่าการเรียนพิเศษเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือไม่?" โดย 78.86 % ระบุว่า "จำเป็น" เนื่องจากปัจจุบันการแข่งขันทางการศึกษาสูงขึ้นจึงต้องเรียนพิเศษเพื่อพัฒนา ตนเองและการเรียนพิเศษทำให้มีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น มีเพียง 21.24% ที่ระบุว่า "ไม่จำเป็น" เนื่องจากในการเรียนปกติถ้ามีความตั้งใจเรียน หมั่นฝึกฝน และทบทวนบทเรียน ก็จะสามารถทำให้ มีผลการเรียนที่ดีได้
ด.ญ.จัก ษณาพัฒน์ สุขวุฒิพงศ์ (น้องมีน) นักเรียนที่เคยผ่านการเรียนพิเศษมาถึง 5 ที่ ตั้งแต่วัย 9 ขวบ ปัจจุบันศึกษาอยู่ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหอวัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านเรียนพิเศษจนสามารถสอบเข้าโรงเรียนหอวังได้อันดับต้นๆ โดยทุกครั้งที่จะเรียนพิเศษก็จะมีผู้ปกครองคอยช่วยเหลือและแนะนำสถานที่ เรียน โดยต่อสัปดาห์จะใช้เวลา 2 วันในการเรียนพิเศษ
“มัน ก็ช่วยในการเรียนมากขึ้นนะคะ จากที่เราเรียนในห้องแล้วไม่ค่อยเข้าใจ แต่พอเรามาเรียนพิเศษมันทำให้เรารู้เรื่องเพิ่มขึ้น แล้วเหมือนทบทวนไปในตัวด้วยค่ะ อย่างตอนสอบ คือหนูจะเป็นคนไม่ค่อยอ่านหนังสือ แต่พอมาเรียนพิเศษทำให้หนูทบทวนเรื่องที่เรียนมาแล้ว โดยไม่ต้องอ่านหนังสือมากผลก็ออกมาดีนะคะ อีกอย่างครูในห้องจะสอนเร็ว คือนักเรียนมีเยอะก็เลยดูแลไม่ทั่วถึง” ด.ญ.จักษณาพัฒน์กล่าว

เมื่อถามว่า เพื่อนๆ คนอื่นต้องเรียนพิเศษกันด้วยหรือไม่ ด.ญ.จักษณาพัฒน์ กล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วก็ต้องเรียนกันหมด                

ด้าน นายคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงสาเหตุที่มีโรงเรียนกวดวิชาเปิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน ว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ไม่ใช่แค่เรื่องของการเรียน แต่เป็นปัญหาในเรื่องของการคัดเลือกเด็กเข้าสู่ระบบด้วย การศึกษาของไทยมีการจัดลำดับในเรื่องของชื่อเสียงของสถาบันที่ต่างกันดัง นั้นเด็กและผู้ปกครองก็จะมุ่งหวังที่จะเข้าในสถาบันที่มีชื่อเสียง นำมาสู่การสร้างโรงเรียนกวดวิชา แน่นอนโรงเรียนกวดวิชาเป้าหมายสำคัญ คือการให้เด็กสอบได้ มากกว่าทวนระบบความรู้ ดังนั้นการที่เด็กเห็นความจำเป็นของการติวนั้นไม่แปลก เพราะสุดท้ายแล้ว กระบวนการศึกษาเหมือนมันมุ่งไปสู่อะไรบางอย่างมากกว่ามันจะมีเป้าหมายในแต่ ละระดับชั้นทุกวันนี้เราโฟกัสที่ปลายทางมากกว่า ไม่ได้โฟกัสระหว่างทางว่าจะได้อะไร                            
“บาง ครั้งถูกเรียนผ่านไปเพื่อให้สอบได้ ตอบให้ชัดๆ คือเราเรียนเพื่อสอบ ปัญหานี้มันซับซ้อนมาก สุดท้ายมันโยงไปถึงเรื่องระบบสังคม พยายามจะทำให้มาตรฐานของการเรียนเท่ากันแต่มันเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ที่จะ ให้ทุกสถาบันการศึกษามีการเรียนเท่ากัน ปัญหานี้มันเป็นเรื่องค่านิยมด้วยจบที่นี่จะต้องเก่งจบที่นั่นจะต้องดี แล้วก็โยงมาถึงเรื่องของวิธีคิดของการศึกษาด้วยว่าสุดท้ายแล้ว เราต้องมานั่งตั้งคำถามกันใหม่ว่าการศึกษาจะนำไปสู่อะไร" นายคมกฤชกล่าว

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กวดวิชา จำเป็นหรือไม่ ?

เครียดจัง จะเรียนพิเศษดีหรือป่าว ?

                       ปัจจุบันนี้เพื่อนๆมีการเรียนกวดวิชากันมาก เนื่องจากกลัวว่าจะเรียนตามเพื่อนๆในชั้นเรียนไม่ทัน และด้วยเหตุที่ว่าการสอบเก็บคะแนนหรือการสอบวัดผลกลางภาค เป็นข้อสอบที่ยากกว่าหลักสูตรในชั้นเรียนที่อาจารย์สอน และเนื่องด้วยต้องการที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ตนเองต้องการ แต่เพื่อนๆเคยคิดหรือไม่ว่าการที่เพื่อนๆเรียนกวดวิชานั้น ทำให้เพื่อนๆมีเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆน้อยลง เช่นการออกกำลังกาย หรือการพักผ่อน มีเวลาให้กับตนเอง แล้วถ้าหากเราไม่เรียนกวดวิชาหล่ะ ? จะเป็นอย่างไร จะทำให้เราเกรดตกไปหรือเปล่า ? จำเป็นหรือเปล่า ?